ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของNitchakarn Kwanjai

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มหาชาติ 13 กัณฑ์

การเทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดก เป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ มีทั้งหมด ทั้ง 13 กัณฑ์ คือ 

1.กัณฑ์ทศพร 19 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ สาธุการ ทศพร เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่นางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร โดยให้พร 10 ประการ

2.กัณฑ์หิมพานต์ 134 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ ตวงพระธาตุ หิมพานต์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาค ประชา ชนชาวเมืองสีพีโกรธแค้น จึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต

3.กัณฑ์ทานกัณฑ์ 209 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ พญาโศก ทานกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกสัตสดกมหาทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนออกจากพระนคร

4.กัณฑ์วนปเวศน์ 57 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ พญาเดิน วนปเวศน์ เป็นกัณฑ์ที่เสด็จถึงเขาวงกต ได้พบศาลาอาศรม ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตให้ พระเวสสันดร พระนางมัทรี ชาลีและกัณหา จึงทรงผนวชเป็นฤาษีพำนักในอาศรมสืบมา 

5.กัณฑ์ชูชก 79 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ เซ่นเหล้า ชูชก เป็นกัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตดามาเป็นภรรยา และหมายจะได้โอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส 

6.กัณฑ์จุลพน 75 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ คุกพาทย์ จุลพน เป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงกลชูชก และชี้ทางอาศรมจุตดาบส ชูชกได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตร อ้างว่าเป็นพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงสญชัย จึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤาษี

7.กัณฑ์มหาพน 80 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ เชิดกล้อง มหาพน เป็นกัณฑ์ป่าใหญ่ ชูชกหลอกล่ออจุตฤาษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดร

8.กัณฑ์กุมาร 101 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ โอดเชิดฉิ่ง กัณฑ์กุมาร เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก

9.กัณฑ์มัทรี 90 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ ทยอยโอด กัณฑ์มัทรี เป็นกัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก

10.กัณฑ์สักกบรรพ 43 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ กลม สักก บรรพ เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์จำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี แล้วถวายคืนพร้อมถวายพระพร 8 ประการ

11.กัณฑ์มหาราช 69 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ กราวนอก มหาราช เป็นกัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์ทำนุบำรุงขวัญสองกุมาร ก่อนเสด็จนิวัตถึงมหานครสีพี

12.กัณฑ์ฉกษัตริย์ 36 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ ตระนอน ฉกษัตริย์ เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้ากัน ท้าวสักกะเทวราชได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์

13.กัณฑ์นครกัณฑ์ 48 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ กลองโยน นครกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัตพระนคร พระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา

พระเวสสันดรชาดก



   เวสสันดรชาดก

              

              พระเวสสันดรเป็นโอรสของพระนางผุสดีกับพระเจ้าสัญชัยแห่งแคว้นสีพี เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 16 ปี ได้อภิเษกสมรสกับ
พระนางมัทรีเจ้าหญิงแห่งแคว้นมัททะ มีพระโอรสและพระธิดา คือ ชาลีกุมาร และกัณหากุมารี

              พระเวสสันดรใจบุญมาก สร้างโรงทานไว้บริจาคคนยากจน 6 แห่ง ต่อมาได้บริจาคช้างปัจจัยนาค ซึ่งเป็นช้างมงคลให้แก่แคว้นกาลิงคะที่ส่งทูตมาขอ ชาวเมืองสีพีไม่พอใจ พากันกราบทูลพระเจ้าสัญชัยให้เนรเทศออกจากเมือง พระเจ้าสัญชัยจำต้องยอมทำตามมติของมหาชน พระเวสสันดรเองก็ยอมรับมตินั้น แต่ก่อนจากไปนั้นได้ทูลขอบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่เรียกว่า “สัตตสดกมหาทาน” คือให้ของอย่างละ 700 เป็นทาน มีช้าง 700 เชือก ม้า 700 ตัว วัวนม 700 ตัว รถ 700 คัน นารี 700 นาง ทาส 700 คน ทาสี 700 คน ผ้าอาภรณ์อย่างละ 700 จากนั้นได้เสด็จออกจากเมืองพร้อมกับพระนางมัทรี เจ้าหญิงกัณหา และเจ้าชายชาลี ไปจนถึงเขาวงกต ในป่าหิมพานต์แล้วได้บวช เป็นฤาษีแยกกันอยู่ โดยพระโอรสพระธิดาอยู่กับพระนางมัทรี

               ต่อมา พราหมณ์เฒ่าชื่อ ชูชก มาทูลขอชาลีกุมาร กับกัณหากุมารีพระเวสสันดรก็ได้ยกให้โดยตีราคาค่าตัวสองกุมารีว่ามีราคาค่าไถ่ตัว
เป้นทองคำพันลิ่ม (ก้อน) พร้อมทั้งทาสีหนึ่งร้อย ช้างหนึ่งร้อย ม้าหนึ่งร้อย โคอุสภราชหนึ่งร้อย และทองคำร้อยลิ่ม (ก้อน)พระอินทร์พอทราบเหตุนั้นก็เกรงว่าพระเวสสันดรจะยกพระนางมัทรีให้คนอื่นอีก จึงแปลงเป็นพราหมณ์มาทูล
ขอพระนางมัทรีแล้วได้ถวายคืน เพื่อให้พระนางอยู่ปรนนิบัติพระสวามีพร้อมกับถวายพรแด่พระเวสสันดร 8 ประการคือ

1. ขอให้พระเจ้าสัญชัยมาทูลเชิญเสด็จกลับไปครองราชสมบัติ
2. ขอให้ได้ช่วยปลดเปลื้องชาวเมืองพ้นภัยทุกเมื่อ
3. ขอให้ชาวแคว้นสีพีมีแต่ความสุข
4. ขออย่าได้ตกอยู่ในอำนาจสตรี
5. ขอให้ได้พบพระโอรสพระธิดาที่พลัดพรากกันไป
6. ขอให้ได้อาหารทิพย์ทุกวันนับแต่ได้กลับไปครองราชสมบัติ
7. ขอให้มีจิตผ่องใสในการให้ทาน และของที่ให้อย่าได้หมด
8. ขอให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ และเมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ขอให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

              ฝ่ายชูชกพาสองกุมารออกจากป่ามาก็เกิดหลงทางจนถึงเมืองสีพี และได้เข้าเฝ้าพระเจ้าสัญชัย พระเจ้าสัญชัยและพระนางผุสดีจำหลานได้ รับสั่งให้นำทรัพย์สินไถ่ตัวหลานรักทั้งสองไว้ พระเจ้าสัญชัยตรัสถามถึงพระเวสสันดรและพระนางมัทรี สองพระกุมารก็กราบทูลตัดพ้อพระเจ้าปู่พระองค์ทรงสำนึกผิดจึงได้เสด็จไปรับพระเวสสันดรกับพระนางมัทรีกลับมายังแคว้นสีพี หลังจากที่ทรงจากแคว้นสีพีไปเป็นเวลาถึง 1 ปี กับ 15 วัน พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมีต่อไป ภพนี้เป็นภพสุดท้ายที่ทรงบำเพ็ญบารมีเบื้องหน้าแต่นี้จักเสด็จอุบัติในดุสิตภพและเมื่อเสด็จจุติจากดุสิตภพนั้นแล้วก็จะเสด็จอุบัติในมนุษยโลกเป็นพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระชาติสุดท้ายไม่ทรงเกิดอีกต่อไป


วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


ทุกข์ของชาวนาในบทกวี



ผู้แต่ง
                      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 

ประวัติผู้แต่ง
                      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง พระปรีชาสามารถ ในด้านต่างๆ ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล งานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น


จุดมุ่งหมายในการแต่ง

                      เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา

ลักษณะคำประพันธ์                                                                      
                     ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ

ความเป็นมา
                      ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533  ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ 41  พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนาซึ่งมีสภาพชีวิตที่ไม่แตกต่างกันนัก

เรื่องย่อ
                      เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ- สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์ ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
                      ต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทยทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีน เมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่า
 มิได้มีความแตกต่างกัน แม้ในฤดูกาลเพาะปลูก ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือ  ชาวนาเท่าที่ควร  ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ  ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้จิตร  
ภูมิศักดิ์ และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอบทกวีที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองท่าน มีแนวความคิดที่คล้ายกัน คือมุ่งที่จะกล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนาและทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกยุคทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่แตกต่างกันเลย                                   
                     
ข้อคิดที่ได้รับ    
                      1. ทำให้เข้าใจความรู้สึกของชาวนาที่ต้องประสบปัญหาต่างๆ
                      2. ทำให้ได้รู้ถึงความทุกข์ยากความลำบากของชาวนาในการปลูกข้าว
                      3. ทำให้ได้เห็นถึงคุณค่าของข้าวที่ได้รับประทานเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์

คำศัพท์
กำซาบ
ซึมเข้าไป
เขียวคาว
สีเขียวของข้าว  ซึ่งน่าจะหอมสดชื่นกลับมีกลิ่นเหม็นคาว  เพราะข้าวนี้                   เกิดจากหยาดเหงื่อ  ซึ่งแสดงถึงความทุกข์ยากและความชมชื่นของชาวนา
จำนำพืชผลเกษตร
การนำผลผลิตทางการเกษตร  เช่น  ข้าวไปฝากกับหน่วยงานที่รับฝากไว้ก่อนเพื่อเอาเงินในอนาคตมาใช้ก่อน
ฎีกา
คำร้องทุกข์  การร้องทุกข์
ธัญพืช
มาจากภาษาบาลีว่า  ธัญพืช  เช่น  ข้าว  ข้าวสาลี  ข้าวโพด  ที่ให้เมล็ด                        เป็นอาหารหลัก
นิสิต
ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย
ประกันราคา
การที่รัฐ  เอกชน  หรือองค์กรต่าง ๆ รับประกันที่จะรับซื้อผลผลิตตามราคา             ที่กำหนดไว้ในอนาคต  ไม่ว่าราคาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม
เปิบ
หรือ  เปิบข้าว  หมายถึง  วิธีการใช้ปลายนิ้วขยุ้มข้าวใส่ปากตนเอง
พืชเศรษฐกิจ
พืชที่สามารถขายได้ราคาดี  พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย  ปาล์มน้ำมัน
ภาคบริการ
อาชีพที่ให้บริการผู้อื่น  เช่น  พนักงานในร้านอาหาร  ช่างเสริมสวย
วรรณศิลป์
ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ



สวัสดิการ
การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดี                          และมีความสะดวกสบาย  เช่น  มีสถานพยาบาล  มีที่พักอาศัย  จัดรถรับส่ง
สู
สรรพนามบุรุษที่ 2  เป็นคำโบราณ
อาจิณ
 ประจำ
อุทธรณ์
ร้องเรียน  ร้องทุกข์
ลำเลิก
กล่าวทวงบุญคุณ กล่าวคำตัดพ้อต่อว่า โดยยกเอาความดีที่ตนทำไว้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง  เพื่อให้สำนึกบุญคุณที่ตนมีอยู่กับผู้นั้น




ความรู้เพิ่มเติม
                      บทความ หมายถึง รูปแบบการเขียนประเภทหนึ่ง ที่ผู้เขียนต้องการสื่อสาร ข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้อ่าน โดยเนื้อหานำเสนอจากข้อเท็จจริง ไม่ใช่เรื่องแต่งหรือคิดขึ้นเองจากจินตนาการ  บทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป จะมีเนื้อหาหลายลักษณะ เช่น หยิบยกปัญหา เหตุการณ์ หรือเรื่องที่ประชาชนสนใจมาแสดงความคิดเห็น หรือผู้เขียนเสนอความคิดเห็นสนับสนุนหรือคัดค้านหรือทั้งสนับสนุนและคัดค้านความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันของคนอื่นๆ เป็นต้น

วิเคราะห์วิจารณ์
                      การแต่งทุกข์ของชาวนาในบทกวีนับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็น-แบบอย่างได้  ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน  ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน เนื้อเรื่องวิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวี ของจิตร ภูมิศักดิ์  และองหลี่เชิน  โดย ทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ  สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิง วรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน โดยทรงใช้
การเปรียบเทียบการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีนว่า เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน
คือหลี่เชินบรรยายภาพที่เห็น เหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง

สรุป
                      พระราชนิพนธ์เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  แสดงให้เห็นถึงความเข้าพระทัยและเอาพระทัยใส่ในปัญหาการดำรงชีวิตของชาวนาไทย  ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงพระเมตตา อันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนาผู้มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก  เริ่มชีวิตและการทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำ  ทำงานแบบหลังสู้ฟ้า  หน้าสู้ดิน  ตลอดทั้งปี  ดังนั้นในฐานะผู้บริโภค  จึงควรสำนึกในคุณค่าและความหมายของชาวนาที่ปลูกข้าวอันเป็นอาหารหลักเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดของคนไทย

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์

ผู้แต่ง  พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
          พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าองค์ที่ 2 ในจำนวน 9 พระองค์ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ
1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. 2421-2430)
2. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2423-2468)
3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (พ.ศ. 2424-2430)
4. จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. 2425-2463)
5. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. 2428-2430)
6. พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. 2432-2467)
7. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. 2435-2466) และ
8. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2436-2484)
เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 46 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 16 ปี ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำ รัชกาลในเรื่อง “หัวใจชายหนุ่ม” นี้ พระองค์ได้ใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” ได้ลงพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตรายเดือนเมื่อ พ.ศ. 246

ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 แทรกคาถาบาลี

จุดมุ่งหมายในการแต่ง          เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้น
ไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้  นอกจากตัวเราเอง

แนวคิดสำคัญ          ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต เกิดจากการประพฤติปฏิบัติของตนเองทั้งสิ้น หาได้เกิดจากผู้อื่น สิ่งอื่น หรือวัตถุโชคลางใดๆ จากภายนอก
มงคล หมายถึง เหตุทั้งหลายอันจะทำให้บรรลุถึงความเจริญแห่งสมบัติทั้งปวง เหตุแห่งความเจริญหรือทางก้าวหน้า มีทั้งหมด 38 ประการ
มงคลสูตร เป็นพระสูตรในขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐ พระธรรมเล็กๆน้อยๆ

คุณค่าที่ได้รับจากการอ่าน1. ได้ทราบวิธีปฏิบัติตนเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
2. มีคุณค่าทางด้านสังคม เพราะข้อปฏิบัติทุกข้อในมงคลสูตรล้วนมีค่าควรประพฤติปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้บุคคลและสังคมเจริญก้าวหน้า
3. ได้ศึกษาภาษากวีนิพนธ์ที่สละสลวย ไพเราะทั้งถ้อยคำและเนื้อความ

ค่านิยม
          มงคลทั้ง 38 ประการ ล้วนเป็นค่านิยมทางพระพุทธศาสนา ค่านิยมสูงสุดทางพระพุทธศาสนาก็คือ นิพพาน การดับพร้อมไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกต่อไป

ความเป็นมา
 เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงนำมงคลสูตร มาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์  โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิดคือ  กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี  การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตาม ที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
 
"อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชนียานํ  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล  เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต  เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล  อดิเรกอุดมดี"

เรื่องย่อ          สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด 38 ประการ ไว้ในมงคลสูตร ซึ่งเป็นพระสุตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ
          พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี มงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจคำถาม คือ พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์เรื่องมงคล เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์ ที่มีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง 12 ปี ท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล 38 ประการ ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้ง หนึ่ง